วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

รวม Blogger



นางสาวสุธิดา  ทะสา 5320602189
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602189/index.html
http://sutida189.blogspot.com/

นายธนะ จิตต์กระจ่าง 5320600780
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600780/
http://thana0780.blogspot.com/

นายศักดิ์ณรงค์ พุ่มเพิ่ม 5320600461
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600461/index.html
http://saknarong461.blogspot.com/

นางสาววนิดา ทิพย์กมลธนกุล 5320602171
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602171/
http://wanida171.blogspot.com/

นายอนุชิต หอมทอง 5320602197
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602197/
http://anuchit197.blogspot.com/

นางสาวสายสุนีย์ สืบสุข 5320601751
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601751/
http://saysunee1751.blogspot.com/

นายรณกร ไข่นาค 5320602685
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602685/
http://ronnakorn2685.blogspot.com/

นางสาวปรวีร์ธิดา อัครวิวัฒกุล 5320600801
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600801/
http://paulravetida0801.blogspot.com/

นางอรรถชัย จันทร์บางยาง 5320601794
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601794/index.html
http://atthachai1794.blogspot.com/

นางสาวภัสรา เพ็งใย 5320602707
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602707/index.html
http://pussara707.blogspot.com/

นางสุรเชษฐ์ พลฉวี 5320601778
https://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601778/index.html
http://surachet1778.blogspot.com/

นางสาวมุทิตา ชมชื่น 5320600445
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600445/
http://mutita0445.blogspot.com/

นางสาวนุชจิรา ปิ่นแก้ว 5320600429
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600429/index.html
http://nootjira429.blogspot.com/

นางสาววนานุรัตน์ ดวงจินดา  5320602472
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602472/
http://wananurat02472.blogspot.com/

นางสาวพชรพร ทิมอินทร์ 5320601719
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601719/index.html
http://phacharaphorn719.blogspot.com/

นางสาววิภาดา ทรัพย์พร้อม 5320601743
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601743/index.html
http://vipada1743.blogspot.com/

นางสาวนิสารัตน์ กลีบบัวทอง 5320601697
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601697/index.html
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=6066477698407146810#allposts



MOOCs

MOOCs
(A massive open online course)  คือหลักสูตรการเรียนแบบออนไลน์ที่สามารถสมัครเรียนได้ฟรี รองรับผู้เรียนได้จำนวนมหาศาล สามารถเรียนผ่านระบบเว็บไซต์ได้ โดยที่ผ่านมานั้น MOOCs พัฒนาขึ้นมาเพื่อระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่เป็นระบบเปิด ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับหลักสูตรตามสถานศึกษาต่างๆ ทั่วไป ยกเว้นก็แต่จะไม่มีหน่วยกิตให้เท่านั้นเอง นอกจากนั้นยังสามารถที่จะออกใบประกาศนียบัตรหลังจากผ่านการประเมินจากการทดสอบออนไลน์ได้ด้วย หรือทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าระบบที่ใช้นั้นมีระบบการวัดผลมากน้อยแค่ไหนด้วย









แหล่งที่มาข้อมูล  http://www.maximumdev.com/Knowledge/IT/a-massive-open-online-course-mooc.html

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Collaborative Learning


การเรียนรู้แบบพึ่งพา (Collaborative Learning)



                        การเรียนรู้แบบพึ่งพา (Collaborative Learning) หมายถึง การปฏิบัติงานร่วมกันโดยเน้น
การจัดระบบการเรียนรู้ มีการแบ่งปันความรู้ มีการยอมรับซึ่งกันและกัน มีการลงความเห็นร่วมกัน
ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือเป็นการสอนโดยใช้กลุ่มเดียวแล้วตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ โดยการแบ่งปัน
ให้สมาชิกในกลุ่มหาคำตอบ
ลักษณะเฉพาะของการเรียนรู้แบบ Collaborative Learning
การเรียนรู้ไม่ได้มีในเฉพาะกลุ่มนักเรียนเท่านั้น แต่เป็นการปฏิบัติร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน
ซึ่งครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางส่วนผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ แล้วนำประสบการณ์มาแบ่งปันกัน โดยลักษณะ
การเรียนรู้แบบ Collaborative Learning มีดังนี้
1. การแบ่งปันความรู้ระหว่างครูกับผู้เรียน การแบ่งปันความรู้แบบเดิมในห้องเรียน
ครูเป็นผู้ให้ความรู้ แต่นักเรียนเป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติโดยประสบการณ์และเกิดความรู้
2. การแบ่งปันการควบคุมห้องเรียนระหว่างครูกับผู้เรียน ครูเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย
ส่วนนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย และประเมินความสมบูรณ์ของ
องค์ความรู้ที่ได้ร่วมกันของสมาชิก
3. ครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง โดยผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ที่มีความสำคัญต่อการเรียน
4. ความหลากหลายของสมาชิกในกลุ่ม ครูให้ผู้เรียนจัดกลุ่มแล้วทำงานร่วมกันตามเป้าหมาย

                       Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้เรียนและคณะได้ทำงานร่วมกัน
เพื่อสร้างความรู้ เป็นศาสตร์การสอน (Pedagogy) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่การสร้างความหมายร่วมกัน และ
เป็นกระบวนการที่อุดมไปด้วยความรู้และขยายมากขึ้น (Matthews,1996) นอกจากนั้น Buffy (1993)
กล่าวว่า ความรู้ ความจริง มีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง รอเพียงการถูกค้นพบโดยความพยายามของมนุษย์
ด้วยวิธีการทางสังคม โดยการช่วยเหลือพึ่งพาในการเรียนรู้ร่วมกัน (collaborative) ความรู้ คือ สิ่งที่คน
สร้างขึ้นมาด้วยการพูดคุยและการมีความเห็นพ้องกัน ทั้งยังมีความเห็นว่า Collaborative Learning
ต้องการความเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเนื้อหาวิชาหรือกระบวนการกลุ่ม ไม่มีการว่ากล่าวให้มีการทำงาน
เป็นกลุ่มจากครู แต่ครูจะเป็นเพียงผู้รับผิดชอบ เป็นสมาชิกเช่นเดียวกับนักเรียนในชุมชนที่มีการค้นหา
ความรู้
                         Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดในกลุ่มเล็ก ไม่ใช่
การเพิ่มความน่าสนใจของผู้มีส่วนร่วม แต่จะสนับสนุนการคิดวิเคราะห์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง
ผู้เรียน เป็นโอกาสที่จะปลูกฝังให้เกิดการอภิปรายกัน มีความรับผิดชอบกับการเรียนรู้ของตนเอง
(Johnson and Johnson, 1986)
                        
                         สรุปได้ว่า Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยรูปแบบของวิธีการทางสังคม
ที่มีการพูดคุยเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคน เพื่อสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์
ระหว่างกัน โดยสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งเกิดจากความร่วมมือ การพึ่งพา และการช่วยเหลือกัน
ให้มากที่สุด
                         Collaborative Learning เป็นปรัชญารูปแบบของการดำเนินชีวิต (life style) ของมนุษย์
ไม่ใช่เทคนิคในชั้นเรียน กล่าวคือ ในสถานการณ์ต่างๆ ผู้คนมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนกับ
ผู้รอบรู้ มีความรับผิดชอบระหว่างกลุ่มครอบคลุมขอบเขตวิธีการที่กว้างขวาง ทั้งที่อยู่ในห้องเรียนหรือ
นอกห้องเรียน มีการสร้างกลุ่มทำงาน (group work) อยู่รอบๆกิจกรรมในชั้นเรียน มีการอภิปราย
ระหว่างบุคคลด้วยการบรรยายสั้นๆ มีการศึกษาค้นคว้ากันเป็นทีมทั้งเทอมหรือตลอดปี เป้าหมายและ
กระบวนการเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย สมาชิกบางคนในกลุ่มหรือคณะร่วมกันทำงานกันเป็นกลุ่มเล็กๆ
โดยเป็นลำดับขั้นตอน ส่วนคนอื่นๆอาจพัฒนาตนเองตามความสนใจ หรือมีการใช้คำถามในการพึ่งพา
ช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ บางครั้งภารกิจของผู้เรียนเป็นการสร้างความชัดเจน ภารกิจนี้ไม่ใช่ผลผลิต
(Product) หรือผลลัพธ์ แต่เป็นกระบวนการอย่างมีส่วนร่วม สมาชิกแต่ละคนจะมีความรับผิดชอบ
วิเคราะห์ และสร้างความหมายร่วมกัน
พื้นฐานทางทฤษฎีของ Collaborative Learning
Collaborative Learning มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางพุทธิปัญญา และคอนสตรัคติวิสต์
ดังที่ Barkley , Cross and Major (2004) ได้แสดงไว้ ดังนี้
1. การเชื่อมต่อกับพุทธิปัญญา (Cognitive Connection) นักพุทธิปัญญาสมัยใหม่ได้กล่าวถึง
โครงสร้างทางจิตใจ (mind) ที่เรียกว่า สกีมา (schema หรือ schemata) ซึ่งเป็นโครงสร้างประกอบด้วย
ข้อเท็จจริง ความคิด ความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆ เช่น คนมีสกีมาเกี่ยวกับวิทยาลัย จะเชื่อมโยงไป
ถึงลักษณะของนักเรียน รูปแบบของคณะ ที่ตั้ง เป็นต้น ดังนั้นสกีมาจึงเป็นการรวบรวมจัดระเบียบ
สารสนเทศเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นความคิดรวบยอด (concept) จากที่ยกตัวอย่าง แต่ละคนจะมีสกีมา
เรื่องวิทยาลัยแตกต่างกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้นถ้าเขามีความรู้เดิมมาก่อน ทั้งนี้การค้นหา
สารสนเทศในสมองเป็นเรื่องที่ยาก มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความลึกซึ้ง (deep) และลักษณะผิวเผิน
(surface) ทำให้เกิดความแตกต่างทางการเรียนรู้ของ Saljo ซึ่งพบคำตอบในรูปแบบที่เป็นลำดับเกี่ยวกับ
ความเข้าใจได้ดังนี้
1) การเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งสารสนเทศ หรือการรู้ให้มาก (knowing a lot)
2) การเรียนรู้ คือความทรงจำ (memorizing)
3) การเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และทักษะที่ใช้
4) การเรียนรู้จะสร้างสัมผัสการรับรู้ หรือสร้างความหมาย
5) การเรียนรู้เป็นการทำให้เข้าใจ (comprehension) เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจ
(Understanding) ด้วยการตีความหมายหลายครั้ง (reinterpret)
2.การเชื่อมต่อทางสังคม (Social Connections) จากฐานแนวคิดของ Vygotsky ที่กล่าวถึง
ZPD หรือ Zone of Proximal Development ซึ่งเป็นพัฒนาการของความตั้งใจในการแก้ปัญหาที่
สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้กับการต้องได้รับการแนะนำจากผู้ใหญ่หรือการพึ่งพาช่วยเหลือ
(collaborative)
จากที่กล่าวมาข้างต้น Collaborative Learning เป็นการสอนและเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่
สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางพุทธิปัญญา และคอนสตรัคติวิสต์ที่ผู้เรียนจะต้องสร้างความรู้ขึ้นมา
ด้วยตนเอง โดยการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มผ่านการร่วมมือช่วยเหลือพึ่งพากัน
สรุปได้ว่าการเรียนรู้แบบพึ่งพา (Collaborative Learning) มีฐานแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ที่คิด
สร้างขึ้นมาเอง โดยผู้เรียนมีการจัดเก็บรวบรวมสารสนเทศเข้าไว้ในโครงสร้างทางปัญญา โดยผ่าน

การเรียนรู้แบบร่วมมือพึ่งพาช่วยเหลือกันของคนในสังคม





แหล่งที่มา บทความโดยสายเคมี ชั้นปีที่ 3

Blended learning


Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน










                       เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน
"Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม"

การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)



การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ
- รวม รูปแบบการเรียนการสอน
- รวม วิธีการเรียนการสอน
- รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย

ข้อดี-ข้อเสีย
การเรียนแบบผสมผสานสรุป Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ความหมายและความสำคัญ
1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน
3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ
3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน
3.2 การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย



สรุป
1. การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะด้านการปฏิบัติ (Practice Skill )โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์(a combination of face-to-face and Onine Learning) การเรียนแบบหมวก 6 ใบ, สตอรี่ไลน์ จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน โดยอัตราส่วนการผสมผสาน จะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กรณี - ครูผู้สอนสั่งงานทาง e-mail หรือ chatroom หรือ webbord ถือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน- ครูสั่งให้ส่งงานเป็นรูปเล่มรายงานถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเช่นกัน เพราะต้องไปค้นคว้าสืบค้นข้อมูลและนำมาอภิปราย สรุป เนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน ผู้เรียนทุกคนเข้าใจตรงกัน
2. การใช้งานจริง ณ ขณะนี้ สรุป การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ
2.1 กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ
2.2 กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน
2.3 กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษาสำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้
1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่
1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน
1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป
2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุการเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่
2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย
- กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน
- กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน
- ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
- นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
- กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
- การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
- การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
- การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
- การพัฒนากรณีต่าง ๆ
- การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน
3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย
3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างแท้จริง
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน
การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้
1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ
2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้
3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียนรู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน
4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ
5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง
6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน
กรณี - การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน
- คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Blended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน

3. ประโยชน์ ข้อดี และข้อเสีย
ประโยชน์ ข้อดี
1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้
ข้อเสีย
1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์)
ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blened Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค ICT ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี เช่น 2 วิธี หรือมากกว่านั้นได้
2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ e-Learning
3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย รวมไปถึง บริษัท องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณและต้นทุน
4. เป็นไปได้หรือไม่ในการนำไปใช้งานได้จริงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ ผู้เรียน และผู้สอน





แหล่งที่มา
http://www.upsidelearning.com/blog/index.php/2009/12/22/blending-learning-with-social-technology-components/
http://eagleprep.org/eagle-harmony/blended-learning
http://moojood10.blogspot.com/
http://www.gotoknow.org/posts/547857

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่องเกมออนไลน์

เกมออนไลน์


              เกมออนไลน์ หมายถึง เกมที่ใช้เล่นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกมออนไลน์นี้ ผู้เล่นสามารถที่จะสนทนา เล่น แลกเปลี่ยนไอเทมในเกมกับบุคคลภายนอกได้ ซึ่งเกมออนไลน์ ก็้ได้รับความนิยมมากเนื่องจาก 
1. ผู้เล่นได้เข้าสังคมจึงรู้สึกสนุกที่จะพูดคุยมากกว่าการเล่นเพื่อชิงชัยชนะ 
2. เกมออนไลน์บางเกมมีกราฟฟิกที่สวยงามมาก จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนหันมาเล่นเกมออนไลน์
บางครั้งการเล่นเกมออนไลน์ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดี เพราะเด็กหลายๆคนเล่นเกมออนไลน์แล้วติดเกมส์เป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกันพิจารณาว่าเกมส์ใดเป็นเกมส์ที่เหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับเด็ก

ปัญหาที่เกิดจากการติดเกมออนไลน์ในสังคมไทย

สาเหตุต้นๆของการติดเกมออนไลน์นี้ มีด้วยกันหลายๆสาเหตุ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาทางด้านตัวเด็กเอง และพ่อแม่ส่วนใหญ่ก็มักจะพบปัญหากันทั่วประเทศ ส่วนสาเหตุของการติดเกมนั้น เนื่องจากว่า เนื้อหาของเกม มีผลต่อการดึงดูดความสนใจผู้ที่ได้สัมผัสกับมันมากๆ และอีกสาเหตุหนึ่ง ที่คาดกันไม่ถึงเลยจริงๆ คือ การขาดความรับผิดชอบ หรือ การรู้จักบริหารเวลาอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์สูงสุด ถึงแม้เกมจะมีประโยชน์ก็ตามแต่ ถึงอย่างไรก็ดี ก็ยากที่จะได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์



แหล่งที่มา

เรื่อง Edutainment

Edutainment


                 การเรียนรู้แบบศึกษาบันเทิง หรือ Edutainment (Education + Entertainment) เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานหลายอย่างเข้าไว้ด้วยกัน คือ สื่อมัลติมีเดีย การจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน และกิจกรรมที่หลากหลายชนิด มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสุขสนุกสนานในการเล่นปนเรียน (Play & Learn) เปลี่ยนบรรยากาศหรือรูปแบบเดิมๆ ที่เคยเรียน ตามแนวคิดที่ว่าสิ่งบันเทิงสามารถสร้างความสนใจได้มากกว่าการเรียนตามปกติ โดยที่อาจารย์จะเป็นเพียงผู้คอยอำนวยความสะดวกให้เท่านั้น มีการวางแผนล่วงหน้าเป็นการเฉพาะด้วยการจัดกิจกรรม (Activity) จะต้อง พยายามให้บทเรียนแต่ละเนื้อหามีความเคลื่อนไหวด้วยกิจกรรม และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นต่อไปด้วยการมอบหมายงานให้ไปหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อมัลติมีเดียที่ได้จัดเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า เป็นสื่อที่ใช้ง่าย เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการของผู้สอนที่จะมอบหมายงานและกระตุ้นให้นักศึกษา เสาะแสวงหาด้วยตนเอง หรือช่วยกันค้นหา และนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ ซึ่ง วิธีการดังกล่าวนี้แหละคือหัวใจของการเรียนรู้แบบศึกษาบันเทิง 

                วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Edutainment มีหลายวิธีเช่น การเล่นเกม การแข่งขันทายปัญหา มีการใช้สื่อที่เร้าใจทั้งภาพและเสียง 




แหล่งที่มา
http://www.gotoknow.org/posts/386007
http://www.fipt.org.uk/edutainment.html